top of page

ประวัติกีฬาฟุตซอล

           คำว่า ฟุตซอล (Futsal) มีรากศัพท์มาจากภาษาสเปน FUTbol หรือโปรตุเกส FUTebol มาผสมคำกับ SALa (ซึ่งเป็นภาษาสเปนหรือฝรั่งเศสของคำว่า Indoor) เมื่อนำมารวมกันจึงกลายเป็นคำว่า ฟุตซอล โดยความหมายแล้วคือกีฬาฟุตบอลที่เล่นในที่ร่ม

กีฬาฟุตซอล ถือกำเนิดขึ้นในประเทศเเคนาดา เมื่อปี ค.ศ. 1854 (พ.ศ. 2397) เนื่องจากเมื่อย่างเข้าหน้าหนาว หิมะตกคลุมทั่วบริเวณ ทำให้นักกีฬาไม่สามารถเล่นกีฬาฟุตบอลกลางเเจ้งได้ จึงหันมาเล่นฟุตบอลในร่ม โดยใช้โรงยิมบาสเกตบอลเป็นสนามเเข่ง ทำให้ช่วงนั้นเรียกกีฬาฟุตซอลว่า Indoor Soccer (อินดอร์ซอคเกอร์) หรือ five a side soccerปี ค.ศ. 1930 (พ.ศ. 2473) ฮวน คาร์ลอส เซอเรียนี จากเมืองมอนเตวิเดโอ ประเทศอุรุกวัย ได้นำกีฬาฟุตซอลไปใช้ในสมาคม YMCA (Young Man’s Christian Association) โดยใช้สนามบาสเกตบอลในการเล่นทั้งภายในและภายนอกอาคาร ทำให้กีฬา Indoor soccer ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ
ปี ค.ศ. 1932 (พ.ศ. 2475) โรเจอร์ เกรน ได้บัญญัติกฎเพื่อใช้เป็นมาตรฐานควบคุมกีฬาชนิดนี้ และใช้มาจนถึงวันนี้ หลังจากนั้นไม่นาน กีฬาชนิดนี้ก็เเพร่หลายไปทั่วโลก เป็นที่นิยมทั่วทั้งทวีปอเมริกาใต้ ทวีปยุโรป และแพร่กระจายไปทั่วโลก

ประวัติฟุตซอลไทย การแข่งขันฟุตซอลในประเทศไทย

            ประวัติฟุตซอลไทย | การเล่นฟุตซอลในประเทศไทยไม่เป็นที่ปรากฏแน่ชัดว่ามีมาตั้งแต่เมื่อใด แต่มีการเล่นกีฬาที่คล้ายคลึงกันที่เรียกกันติดปากว่า ฟุตบอลโกลหนู ที่มีรูปแบบการเล่นที่คล้ายกับฟุตบอลแต่ลดขนาดของสนามและผู้เล่นลงมา   ซึ่งฟุตบอลโกลหนูนั้น นิยมเล่นกันแบบไม่มีผู้รักษาประตูแต่ไม่ได้กำหนดตายตัว แล้วแต่การตกลงกันของนักกีฬา การเล่นแบ่ง เป็น 2 ทีม ฝ่ายละเท่า ๆ กัน ซึ่งมักจะไม่เกินฝั่งละ 5 คน ลูกบอลจะใช้บอลชนิดใดก็ได้ตามแต่ที่หาได้ ส่วนสนามนั้นจะเป็นที่ว่าง    ใด ๆ ก็ได้ที่เอื้ออำนวย เช่น ที่ว่างจากสนามบาสเกตบอล ที่ว่างบริเวณใต้สะพาน หรือทางด่วน เป็นต้น ส่วนฟุตซอล                        ซึ่งเป็นกีฬาในร่มอย่างเป็นทางการนั้น ไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนัก อาจเป็นเพราะหาสถานที่ที่เป็นสนามที่ถูกต้องอย่างเป็นทางการได้ยากกว่า และวัตถุประสงค์ของการเล่นฟุตบอลโกลหนู มักเป็นการออกกำลังกาย มากกว่าฝึกซ้อมเพื่อใช้ไปแข่งขัน

ประวัติฟุตซอลไทย ที่มีหลักฐานบันทึกไว้นั้น เป็นการแข่งขันที่จัดขึ้นอย่างเป็นทางการ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

  • ในปี พ.ศ.2540 ประเทศไทยได้มีการจัดการแข่งขันฟุตบอล 5 คน (ฟุตบอล 5 คน คือ คำที่ใช้เรียกกีฬาฟุตซอล ในประเทศไทย ในช่วงนั้น) ขึ้นครั้งแรก ด้วยความร่วมมือจากหลายๆ ฝ่ายที่ช่วยกันผลักดันกีฬาชนิดนี้ให้ได้รับความนิยมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร การกีฬาแห่งประเทศไทย และเดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด ร่วมกันจัดการแข่งขันฟุตบอล 5 คน ในรายการ “STAR IN DOOR SOCCER 1997” เมื่อวันที่ 12 – 21 กรกฎาคม 2540 ณ เดอะมอลล์ บางกะปิ โดยมี 12 ทีมสโมสรชั้นนำจากไทยแลนด์ลีกเข้าร่วมการแข่งขัน และทีมการท่าเรือแห่งประเทศไทยชนะเลิศในการแข่งขัน

  • ปี พ.ศ. 2541 มีการจัดการแข่งขันขึ้นอีกเป็นครั้งที่ 2 ทีมกรุงเทพมหานครชิงชนะเลิศกับแชมป์เก่าสโมสรการทหารท่าเรือแห่งประเทศไทย ซึ่งทีมกรุงเทพมหานครสามารถเอาชนะแชมป์เก่าลงได้ และคว้าแชมป์ไปครองได้สำเร็จ

  •  พ.ศ. 2543 มีการจัดแข่งขันฟุตซอลเป็นครั้งที่ 3 โดยมีการแข่งขันรอบคัดเลือกในแต่ละภาคเพื่อนำทีมชนะเลิศและรองชนะเลิศมาแข่ง ขันกับทีมสโมสรจากไทยแลนด์ลีก ในการแข่งขันฟุตซอลชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทยในครั้งนี้ ทีมสโมสรทหารอากาศคว้าแชมป์ไปได้ ทำให้กีฬาฟุตซอลเป็นเป็นที่นิยมมากยิ่งขึ้น

  • ต่อมาประเทศไทยได้มีโอกาสเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย และจากการแข่งขันดังกล่าวประเทศไทยได้อันดับที่ 3 และได้สิทธิ์เดินทางไปแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลกรอบสุดท้าย ณ ประเทศกัวเตมาลา

  • ในปี พ.ศ. 2543 ได้จัดการแข่งขันทั้งในระดับเยาวชน 18 ปี ครั้งที่ 1 โดยคัดเลือกตามภาคต่างๆ และนำทีมชนะเลิศและรองชนะเลิศมาแข่งขันกับทีมโรงเรียนรับเชิญในกรุงเทพมหานคร

  • ปี พ.ศ. 2544 มีการจัดการแข่งขันทั้งในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ ทั้งระดับเยาวชนและประชาชน เช่น การแข่งฟุตซอล ควิก จูเนียร์ฟุตซอลไทยแลนด์ แชมป์เปี้ยนชิพ และอัมเทล ฟุตซอลไทยแลนด์แชมป์เปี้ยนชิพ 2001 และทีมชาติไทยสามารถสร้างผลงาน ชนะเลิศระดับอาเซียน ที่ประเทศมาเลเซีย และชนะเลิศระดับดิวิชั่น 2 ไทเกอร์คัพ ที่ประเทศสิงคโปร์

  • ปี พ.ศ. 2545 มีการจัดการแข่งขันทั้งในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ ทั้งระดับเยาวชนและประชาชน เช่น การแข่งฟุตซอล ควิก จูเนียร์ฟุตซอลไทยแลนด์ แชมป์เปี้ยนชิพ และการแข่งขันชนะเลิศแห่งประเทศไทยทีมสโมสรราชนาวีคว้าแชมป์ไปได้

  • ปี พ.ศ. 2547 ทีมชาติไทยก็สามารถคว้าอันดับที่ 3 ในการชิงแชมป์ เอเชีย ได้สิทธิเดินทางไปแข่งขันชิงแชมป์โลกรอบสุดท้ายที่ประเทศไต้หวัน

กลับหน้าหลัก

bottom of page