top of page

ทักษะการเล่นฟุตซอล

ทักษะการรับบอล

ทักษะในการรับบอลหรือบังคับบอล หมายถึง การบังคับบอลที่มาในลักษณะต่าง ๆ ทั้งบนพื้นและในอากาศ เพื่อให้บอลอยู่ในครอบครองและสามารถเล่นต่อไปตามความต้องการ การรับบอลหรือหยุดบอลนั้นเป็นเทคนิคอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญในการเล่นฟุตซอลหากหยุดหรือรับบอลไม่อยู่ จะทำให้เสียบอลให้ฝ่ายตรงข้ามได้

เทคนิคการหยุดบอลหรือรับบอล

            การหยุดบอลหรือรับบอล โดยการใช้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ดังนี้

1. การหยุดบอลด้วยฝ่าเท้า การหยุดบอลด้วยฝ่าเท้า เป็นการหยุดที่ง่ายที่สุดลูกเรียดที่กลิ้งเข้ามาหา ยืนทรงตัวให้ดีพร้อมกับยื่นเท้าออกไปข้างหน้าแล้วใช้ฝ่าเท้าหยุดบอล

2. การหยุดบอลด้วยเท้าด้านใน

-. ลักษณะการยืนและท่าทางเหมือนกับการเตะข้างเท้าด้านใน

-. เมื่อบอลวิ่งเข้าหาจากด้านหน้า ด้านข้างหรือจากด้านหลัง เท้าที่เป็นหลักและเท้าที่จะหยุดบอลอยู่ในลักษณะเหมือนกับการเตะด้วยข้างเท้าด้านใน

-. เท้าที่จะหยุดบอลยื่นไปข้างหน้าเล็กน้อยแล้วผ่อนโดยดึงเท้ากลับเล็กน้อย ก่อนจะสัมผัสและหยุดบอล

3. การหยุดบอลด้วยข้างเท้าด้านนอก

-. ตามองบอลพร้อมกับหันข้างที่ใช้เป็นเท้าในการรับบอล

-. เท้าที่ใช้เป็นหลักควรย่อเข่าลงเล็กน้อย

-. ลักษณะข้างเท้าที่ใช้รับบอลควรผ่อนเท้าตามแรงเข้าหาของลูกบอลหันข้างเท้าด้านนอกเข้าหา เมื่อบอลสัมผัสเท้า

4. การหยุดลูกบอลด้วยเข่าหรือหน้าขา

-. ให้หันหน้าเข้าหาทิศทางที่ลูกบอลจะลอยมา

-. เคลื่อนที่เข้าหาตำแหน่งที่คาดว่าลูกน่าจะตก ตาจับจ้องที่ลูก กางแขนออกเพื่อช่วยการทรงตัว จดเท้าข้างที่ใช้เป็นหลักไว้บนพื้น เข่างอเล็กน้อย

-. เมื่อลูกบอลลอยมาได้ระยะ ให้ยกเข่าข้างที่จะใช้หยุดขึ้นจนขาท่อนบนเกือบขนานกับพื้น ขาท่อนล่างทำมุมกับเข่าประมาณ 90 องศา ใช้หน้าขาบริเวณเหนือเข่าเล็กน้อยในการรับลูก

-. จังหวะที่สัมผัสลูกให้ผ่อนขาลงเล็กน้อยตามความแรงของลูก ให้ลูกกระดอนจากขาลงสู่พื้นด้านหน้า แล้วใช้ฝ่าเท้าหรือข้างเท้าหยุดลูกบอล

5. การหยุดลูกบอลด้วยหลังเท้า

-. หันหน้าเข้าหาทิศทางที่ลูกบอลลอยมา ยกเท้าขึ้นดักรับในจังหวะที่ลูกบอลลอยมาทันที

-. จังหวะที่ลูกบอลสัมผัสหลังเท้า ให้รีบผ่อนเท้าทั้งท่อนตั้งแต่หัวเข่าลงมาตามความแรงของลูกที่พุ่งมาแล้วดึงเข้าหาตัว ระวังอย่าเกร็งขาจนแข็งเพราะจะคล้ายกับการเตะสวน ลูกจะกระดอนออกไปไกล

-. สำหรับลูกที่กลิ้งมาตามพื้นหรือลูกที่กระดอนขึ้นจากพื้น ให้หันหน้าเข้าหาทิศที่ลูกบอลลอยมา ยกเท้าข้างที่จะใช้หยุดลูกขึ้นจากพื้นเล็กน้อย ปลายเท้างุ้มลงสู่พื้น จังหวะที่ลูกบอลสัมผัสหลังเท้าให้ผ่อนเท้าไปข้างหลังเล็กน้อย

6. การหยุดลูกบอลด้วยหน้าอก       

-. หันหน้าเข้าหาทิศทางที่คาดวาลูกบอลจะมา ตาจับจ้องลูก

-. เท้าทั้งสองอาจขนาน หรือเท้าใดเท้าหนึ่งอยู่หน้าก็ได้

-. เมื่อลูกบอลลอยมาเกือบจะกระทบหน้าอก ให้ยกตัวขึ้นทันที กล้ามเนื้อส่วนอกเกร็ง เข่าย่อ จังหวะที่ลูกบอลกระทบอกให้เอนหลังผ่อนอกลง

-. หน้าอกจะอยู่ในลักษณะเหมือนเป็นแอ่งไว้รองรับลูกบอล กางแขนออกเพื่อช่วยการทรงตัวงอเข่าของเท้าหน้าเล็กน้อยและผ่อนตัวลงทันที

-. ปล่อยให้ลูกบอลลงพื้น ให้ก้าวเท้าไปเพื่อครอบครองลูกเพื่อเล่นต่อไป หรือเตะต่อตามจังหวะและโอกาส

การทรงตัว

              การทรงตัวเป็นพื้นฐานเบื้องต้นที่มีความสำคัญในการฝึกกีฬาทุกชนิด เพื่อการเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว สามารถทำให้การเล่นกีฬาเป็นไปอย่างต่อเนื่อง สนุกสนานเร้าใจท่าทางการทรงตัว
ที่ผู้เล่นฟุตบอลควรฝึกหัด มีดังนี้
              1. ทำการทรงตัวและจังหวะการใช้เท้าทั้งบนพื้นดินและในอากาศ
              2. การถ่ายน้ำหนักตัวไปสู่เท้าหลัก เมื่อมีการครอบครองลูก เตะลูกหรือเลี้ยงลูกฟุตบอล
              3. การวิ่งตามแบบของฟุตบอล เช่น วิ่งไปที่มุมสนาม วิ่งหาช่องว่าง วิ่งตัดกันเพื่อหลอกคู่ต่อสู้
              4. การวิ่งซิกแซ็ก เพื่อการหลบหลีกเมื่อเลี้ยงหรือครอบครองลูก

การสร้างความคุ้นเคยกับลูกฟุตบอล

              พื้นฐานของการเล่นฟุตบอลที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือ การสร้างความสัมพันธ์หรือความคุ้นเคยกับลูกฟุตบอลเป็นอย่างดี กล่าวคือ การเล่นลูกฟุตบอลต้องสามารถทำได้อย่างที่ตั้งใจไว้ทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นลูกแบบใดก็ตาม การที่ผู้เล่นคุ้นเคยกับลูกฟุตบอลจะส่งผลให้การครอบครองบอล การเคลื่อนที่ในลักษณะต่างๆ การควบคุมบังคับทิศทางของลูกฟุตบอลเป็นไปด้วยความแม่นยำ ดังนั้น จึงควรให้ผู้เล่นฝึกความคุ้นเคยให้ชินกับลูกฟุตบอลมากที่สุด
วิธีการสร้างความคุ้นเคยกับลูกฟุตบอล
              1. วางเท้าบนลูกฟุตบอลแล้วคลึงด้วยฝ่าเท้าไปมาหน้า - หลัง ซ้าย - ขวา โดยให้อยู่กับที่ ให้ทำทั้งเท้าซ้าย-ขวา
              2. ทำเหมือนข้อที่ 1 แต่ให้เคลื่อนที่ไปตามทิศทางต่าง ๆ ด้วย
              3. ใช้ฝ่าเท้าตบลูกฟุตบอลให้กระดอนขึ้น-ลง โดยใช้เท้าซ้ายหรือขวาสลับกัน
              4. วางเท้าด้านในติดกับข้างลูกฟุตบอล ใช้ข้างเท้าด้านในปาดเหนือลูกมาอีกด้านหนึ่งของลูก ตอนนี้ลูกฟุตบอลจะอยู่ข้างเท้าด้านนอก แล้วใช้เท้าด้านนอกปาดลูกกลับไปอีกด้านตามเดิม แล้วให้ฝึกสลับเท้าด้วย
              5. งัดลูกฟุตบอลด้วยปลายเท้าให้ลูกลอยขึ้นในอากาศ หยุดลูกด้วยหลังเท้า หรือฝ่าเท้า
              6. งัดลูกฟุตบอลด้วยปลายเท้าให้ลูกลอยขึ้นในอากาศ แล้วเดาะลูกด้วยเท้า เข่า หน้าอก ศีรษะ สลับกัน
              7. ทำเหมือนข้อ 6 แต่เคลื่อนที่เป็นระยะทางไกล โดยลูกฟุตบอลไม่ตกถึงพื้น

การเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ถอยหลัง ไปทางซ้าย ไปทางขวามีวิธีการฝึกดังนี้
              1. ทิ้งน้ำหนักตัวไปสู่ทิศทางที่จะเคลื่อนที่ไป ตาจับอยู่ที่ลูกบอล
              2. เคลื่อนเท้าที่อยู่ในทิศทางที่จะเคลื่อนไป นำไปก่อน แล้วจึงเคลื่อนเท้าอีกข้างหนึ่งตามไปโดยเร็ว เช่น ไปทางซ้ายให้ก้าวเท้าซ้ายนำไปก่อน แล้วก้าวเท้าขวาตามไป
              3. การใช้ปลายเท้าสัมผัสพื้น ช่วยให้การเคลื่อนไหวรวดเร็วขึ้น

รู้จักกับ 5 ทักษะฟุตซอลพื้นฐาน เลี้ยง-ส่ง-เดาะ-โหม่ง-ยิง

การเริ่มต้นจากทักษะพื้นฐานที่ดี จะช่วยในการพัฒนาศักยภาพด้านต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่ ด้านกีฬาก็เช่นเดียวกัน และเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ที่ต้องรักษาระยะห่างทางสังคม ผลิตภัณฑ์ไมโลจึงเดินหน้าจัดการแข่งขัน “ไมโล ฟุตซอล 2020 พลังทักษะ สร้างทีมแกร่ง” ในรูปแบบใหม่ เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้แสดงพลังและศักยภาพของตัวเองอย่างเต็มที่ ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไร โดยเน้น 5 ทักษะฟุตซอล (Futsal) ได้แก่ เลี้ยง ส่ง เดาะ โหม่ง ยิง ที่เป็นทักษะพื้นฐานสำคัญของนักกีฬาฟุตซอลทุกคน ตอกย้ำความมุ่งมั่นของไมโลในการสนับสนุนให้เด็กได้เรียนรู้และเติบโตสู่ความสำเร็จด้วยกีฬา เพราะกีฬาคือครูชีวิต

5 ทักษะฟุตซอล พื้นฐาน เลี้ยง-ส่ง-เดาะ-โหม่ง-ยิง

ดร.ชาญวิทย์ ผลชีวิน สมาชิกวุฒิสภา กล่าวว่า “การแข่งขันไมโล ฟุตซอลปีที่ 11 รูปแบบจะแตกต่างกับ 10 ปีที่ผ่านมา โดยปีนี้จะเน้นแข่งทักษะเฉพาะตัว 5 รูปแบบ คือ เลี้ยง ส่ง เดาะ โหม่ง ยิง ซึ่งเป็นทักษะพื้นฐานที่ผู้เล่นฟุตซอลทุกคนต้องเล่นให้เก่ง ที่ผ่านมาเด็กไทยเน้นการเล่นแบบเป็นทีม หวังผลแพ้-ชนะมากกว่า ถ้าเทียบกับยุโรป หรือ ประเทศที่มีนักฟุตบอลเก่ง ๆ จะเห็นว่าประเทศเหล่านี้เน้นวิธีการฝึกทักษะพื้นฐานของเด็กให้แน่นก่อนจะมาเล่นเป็นทีม การแข่งขันฟุตซอลรูปแบบใหม่นี้ยังเน้นการแข่งขันเพื่อสร้างทีมเวิร์ก นอกจากผู้เล่นจะต้องฝึกทักษะการเล่นที่ชำนาญและแม่นยำแล้ว ยังต้องประสานกันเป็นทีม เราเชื่อว่า เด็ก ๆ ทุกคนถ้าได้ฝึกกับแบบทดสอบนี้ นอกจากจะทำให้ความสามารถเฉพาะตัวดีขึ้นแล้วยังมีศักยภาพที่จะก้าวไปสู่การเป็นนักกีฬาอาชีพที่สร้างทีมแกร่งได้แน่นอน”

สำหรับเทคนิคในการฝึกแต่ละทักษะพื้นฐาน ที่ทุกคนสามารนำไปฝึกได้ อ.ชาญวิทย์และสต๊าฟโค้ชทีมไมโล นำโดยนายคมกริช นภาลัย อดีตผู้จัดการทีมฟุตซอล ชลบุรี บลูเวฟ นายอนุพงษ์ พลศักดิ์ อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทย และ นายยุทธนา พลศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ฝึกสอนทีมชาติไทยชุด U20 แนะนำเคล็ดลับการฝึกทักษะโดยสามารถชมในรูปแบบวิดีโอได้ที่

 

ทักษะการเลี้ยงบอล

เลี้ยงบอลซิกแซกผ่านสิ่งกีดขวาง การเลี้ยงบอลที่ดีต้องไม่เกร็งลำตัวส่วนบน ใช้การย่อเข่าเพื่อสร้างบาลานซ์ เวลาเลี้ยงบอลให้ใช้ปลายเท้าด้านนอกของเท้าข้างที่ถนัด และใช้ปลายเท้าด้านในคอนโทรลลูกบอลผ่านอุปสรรค ให้ลูกบอลอยู่กึ่งกลางลำตัว เมื่อต้องการเปลี่ยนทิศทาง ให้จิกปลายเท้าลง เกร็งข้อเท้าเล็กน้อย ใช้ข้างเท้าด้านนอกส่วนบนของรองเท้าสัมผัสลูกฟุตบอลในการเปลี่ยนทิศทาง เมื่อเปลี่ยนทิศทางแล้ว จะใช้ข้างเท้าด้านใน ส่วนบนของรองเท้าสัมผัสลูกฟุตบอลเพื่อพาลูกเปลี่ยนทิศทางไปอีกด้านหนึ่ง

ทักษะการรับ-ส่งบอล

ผ่านสิ่งกีดขวาง แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ส่งบอลด้วยลูกเรียดและลูกโด่ง สำหรับเทคนิคง่าย ๆ ในการส่งลูกเรียด คือ ต้องวางเท้าหลักให้อยู่ระหว่างลูกฟุตบอล ห่างประมาณ 1 ฝ่ามือ เพื่อไม่ให้อยู่ใกล้ลูกฟุตบอลเกินไป การแปบอลจะใช้ข้างเท้าด้านในแปไปที่ส่วนกลางของลูกบอล เพื่อให้ลูกบอลเรียดไปกับพื้น ถ้าเป็นการส่งด้วยลูกโด่ง เท้าหลักวางในลักษณะเดียวกันกับลูกเรียด แต่ใช้เท้าข้างที่ถนัดเตะช้อนไปที่บริเวณใต้ลูกบอล เพื่อให้ลูกฟุตบอลลอยโด่งขึ้น

ทักษะการโหม่ง

เทคนิคง่าย ๆ คือ ตาต้องมองลูกบอล เกร็งลำคอ โน้มตัวไปด้านหลัง พอจะโหม่งจึงโน้มคอไปด้านหน้า ถ้าเด็ก ๆ ฝึกอย่างชำนาญ จะช่วยในการควบคุมบอล ทำประตู และสกัดบอลจากคู่ต่อสู้

ทักษะการยิง

สามารถทำได้หลายรูปแบบ ทั้งใช้หลังเท้า ข้างเท้าด้านใน ด้านนอก แต่ส่วนใหญ่จะใช้หลังเท้า เพราะทำให้ลูกพุ่งและแรง เทคนิคสำคัญในการยิง คือ ตาต้องมองที่ลูกบอล เน้นที่การวางเท้าหลักเพราะลูกบอลจะไปทิศทางที่ต้องการ หรือถ้ายิงด้วยข้างเท้าด้านใน จะควบคุมทิศทางได้ดีกว่าการยิงด้วยหลังเท้า ทั้งในเรื่องความแม่นยำ สามารถเลือกมุม ทิศทาง และน้ำหนักได้

กลับหน้าหลัก

bottom of page